ยูโรโซน และ สหภาพยุโรป
ยูโรโซน
นโยบายการเงินของโซนเป็นความรับผิดชอบของธนาคารกลางยุโรป ซึ่งควบคุมโดยประธานและคณะกรรมการหัวหน้าธนาคารกลางแห่งชาติ งานหลักของธนาคารกลางยุโรปคือ รักษาเงินเฟ้อให้อยู่ภายใต้การควบคุมแม้ไม่มีการเป็นผู้แทนร่วม วิธีการปกครองหรือนโยบายการคลังของสหภาพการเงิน มีการร่วมมือเกิดขึ้นบ้างผ่านกลุ่มยูโร ซึ่งดำเนินการตัดสินใจทางการเมืองเกี่ยวข้องกับยูโรโซนและสกุลเงินยูโร กลุ่มยูโรประกอบด้วยรัฐมนตรีคลังของรัฐสมาชิกยูโรโซน อย่างไรก็ดี ในสถานการณ์ฉุกเฉิน ผู้นำแห่งชาติอาจตั้งกลุ่มยูโรได้เช่นกัน
นับแต่วิกฤตการณ์การเงินปลายปี พ.ศ. 2543 ยูโรโซนได้ตั้งและข้อกำหนดสำหรับการให้เงินกู้ยืมฉุกเฉินแก่รัฐสมาชิกโดยแลกกับการตรากฎหมายปฏิรูปเศรษฐกิจ ยูโรโซนยังบัญญัติการบูรณาการการคลังบ้าง ตัวอย่างเช่น ในการกลั่นกรองงบประมาณแห่งชาติของประเทศอื่น ปัญหานี้เกี่ยวกับการเมืองอย่างสูงและในสภาพการไหลจนถึง พ.ศ. 2554 ในแง่ของข้อกำหนดเพิ่มเติมจะมีการตกลงสำหรับการปฏิรูปยูโรโซน
สหภาพยุโรป(European Union -EU)
สหภาพยุโรป
(อังกฤษ: European Union: EU) เป็นสหภาพทางเศรษฐกิจและการเมือง ประกอบด้วยรัฐสมาชิก 28 ประเทศซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในทวีปยุโรป มีพื้นที่ 4,324,782 ตารางกิโลเมตร มีประชากรที่ประเมินกว่า 510 ล้านคน สหภาพยุโรปพัฒนาตลาดเดี่ยวภายในผ่านระบบกฎหมายทำให้เป็นมาตรฐานซึ่งใช้บังคับในรัฐสมาชิกทุกประเทศ นโยบายสหภาพยุโรปมุ่งประกันการเคลื่อนย้ายบุคคล สินค้า บริการและทุนอย่างเสรีในตลาดเดี่ยว ตรากฎหมายด้านยุติธรรมและกิจการในประเทศและธำรงนโยบายร่วมกันด้านการค้า เกษตรกรรมการประมงและการพัฒนาภูมิภาค การควบคุมหนังสือเดินทางถูกเลิกภายในพื้นที่เชงเกน มีการตั้งสหภาพการเงินในปี 2542 และมีผลบังคับเต็มที่ในปี 2545 ประกอบด้วยรัฐสมาชิกสหภาพยุโรป 19 ประเทศซึ่งใช้สกุลเงินยูโร
สหภาพยุโรปดำเนินการผ่านระบบผสมระหว่างสหภาพเหนือชาติและความร่วมมือระหว่างรัฐบาล[8][9][10] องค์กรตัดสินใจหลักเจ็ดองค์กร เรียก สถาบันของสหภาพยุโรป ได้แก่ ที่ประชุมยุโรป คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป รัฐสภายุโรป คณะกรรมาธิการยุโรป ศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรป ธนาคารกลางยุโรปและศาลผู้สอบบัญชียุโรป
สหภาพยุโรปกำเนิดขึ้นจากประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป (ECSC) และประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2494 และ 2501 ตามลำดับโดยประเทศอินเนอร์ซิกส์ ประชาคมและองค์การสืบเนื่องมีขนาดเติบโตขึ้นโดยการเข้าร่วมของสมาชิกใหม่และมีอำนาจมากขึ้นโดยการเพิ่มขอบเขตนโยบายในการจัดการ สนธิสัญญามาสทริชท์สถาปนาสหภาพยุโรปในปี 2536 และนำเสนอความเป็นพลเมืองยุโรป การแก้ไขหลักพื้นฐานรัฐธรรมนูญล่าสุดของสหภาพยุโรปล่าสุด สนธิสัญญาลิสบอน มีผลใช้บังคับในปี 2552
สมาชิกสหภาพยุโรป
ประเทศใดประเทศหนึ่งใน 28 ประเทศที่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ตั้งแต่การก่อตั้งประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป (ECSC) เป็นต้นมา เดิมทีประเทศก่อตั้งมีเพียง 6 ประเทศ ซึ่งได้มีการขยายสมาชิกทั้งสิ้น 6 ครั้ง โดยที่ครั้งที่ใหญ่ที่สุดเกิดเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 ที่มีรัฐสมาชิกเข้าร่วมกว่า 10 ประเทศ ปัจจุบันสหภาพยุโรปประกอบด้วยประเทศ 21 สาธารณรัฐ, 6 ราชอาณาจักร และ 1 ราชรัฐ
การออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร หรือ เบร็กซิต (อังกฤษ: Brexit) เป็นที่ถกเถียงมานานในหมู่บุคคล สถาบันกฎหมาย และพรรคการเมือง ตั้งแต่ที่สหราชอาณาจักรเป็นหนึ่งในสมาชิกกลุ่มแรกของสหภาพยุโรป (EU) ในปี ค.ศ. 1973 ทั้งนี้ การออกจากสหภาพยุโรปของประเทศสมาชิกสามารถกระทำได้ตามมาตรา 50 แห่งสนธิสัญญาว่าด้วยสหภาพยุโรป (สนธิสัญญาลิสบอน) ซึ่งบัญญัติไว้ว่า : "รัฐสมาชิกใด ๆ อาจตัดสินใจออกจากสหภาพตามข้อกำหนดแห่งกฎหมายของรัฐนั้น"[1]
ในปี ค.ศ. 1975 การลงประชามติถูกกำหนดให้มีขึ้นในทุกประเทศสมาชิกของประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (ECC) ซึ่งภายหลังได้พัฒนาเป็นสหภาพยุโรป การลงประชามติในครั้งนั้นได้ผลว่า ทุกประเทศสมาชิกจะยังคงเป็นสมาชิกของประชาคมเศรษฐกิจยุโรปต่อไป
ในวันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ. 2016 สหราชอาณาจักรได้ทำการลงมติสมาชิกภาพในสหภาพยุโรป โดยฝ่ายที่ต้องการให้ออกจากสหภาพยุโรปเป็นฝ่ายชนะ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น